Sunday, December 3, 2017

Review : บทที่ 12 Decision Support Model

# DBA09 # SPU พระมหาชินกร รตนาภิวัฒน์

บทที่ 11 Conceptual framework of Decision support Model



TPS, Transaction Process System ระบบประมวลผลการดำเนินงานทางธุรกรรม หรือ TBS Transaction - based systems ระบบข้อมูลพื้นฐานการซื้อขาย คือเก็บและรายงานการสร้างข้อมูลการทำธุรกรรมในหน้าที่ธุรกิจที่เป็นพื้นฐาน เช่น ตู้ ATM เก็บข้อมูลและประมวลผลรายการธุรกรรม
            DBS data-based systems, ระบบข้อมูลพื้นฐาน คือเก็บข้อมูลทั้งหมด ทั้งภายนอกภายในองค์กร หรือ DBMS data-based management systems ระบบการจัดการข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้ Software เข้าไปจัดการ ฐานข้อมูล Data - based
            MIS Management information systems ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ เป็น Software ที่นักโปรแกรมเมอร์สร้างขึ้น ผู้ใช้คือผู้บริหาร ระดับสูง กลาง ล่าง ประมวลผลในรูปแบบ กราฟ ตาราง เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินงาน
            DSS Decision support systems ระบบช่วยในการตัดสินใจ เป็นระบบ Software ผู้ใช้คือผู้บริหารหรือผู้ชำนาญเท่านั้น ใช้เพื่อประมวลผลออกมาเป็นตาราง กราฟ เพื่อเป็นโมเดลสนับสนุนการตัดสินใจ
            ES ระบบการตลาดอัจฉริยะ เหมือนกับ DSS แต่ง่ายต่อการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นใช้งาน ผู้บริหารทั่วไปที่ไม่เก่งComputer ก็ใช้ได้ เพียงแค่ส่งคำถามสิ่งที่อยากรู้ลงในระบบๆก็จะส่งคำตอบออกมาในรูปแบบ กราฟ ตาราง และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารต้องการทราบอีกด้วย เพื่อเป็นโมเดลในการสนับสนุนการตัดสินของผู้บริหาร

            ระบบทั้ง 5 ระบบ ส่งผลต่อ  Decision support and Implementation การสนับสนุนการตัดสินใจ และสนับสนุนการดำเนินงาน

Review : บทที่ 11 Strategic Marketing

# DBA09 # SPU #โดย ถิรวรรณ สกุลวงศ์สิริโชค

บทที่ 11 Strategic Marketing Conceptual Framework

       กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ได้จากทบทวนวรรณกรรมของนักวิจัยในอดีต ได้แก่ Kotler (2000); Kotler (2003); Kriemadis & Terzoudis (2007); Ayub &  Razzaq (2013); Iyamabo & Otubanjo (2013) พบว่า แรง
กดดันจากสภาพแวดล้อม (Environment Pressure) ส่งผลทางตรงต่อการตลาดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Marketing) 
ขณะที่การตลาดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Marketing) ส่งผลทางตรงต่อการประเมินผลการดำเนินงานทางการตลาด 
(Marketing Evaluation) โดยการทบทวนและการควบคุมแผนการดำเนินงานทางการตลาด (Marketing Review 
and Control) ส่งผลร่วมต่อการประเมินผลการดำเนินงานทางการตลาด (Marketing Evaluation)

ทั้งนี้สามารถอธิบายความหมายขององค์ประกอบแต่ละตัวแปรได้ดังนี้
       แรงกดดันจากสภาพแวดล้อม (Environment Pressure) ประกอบด้วย (External Environment) 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก และ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment)
    การตลาดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Marketing) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยการวางแผนองค์กรเชิงกลยุทธ์ (Corporate Strategic Planning) ปัจจัยการมุ่งเน้นตลาด (Strategic Planning (Market Oriented)) ปัจจัยการกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) ปัจจัยการพัฒนากลยุทธ์การตลาด (Development of Marketing Strategies) และปัจจัยยความสัมพันธ์กับคู่แข่งขัน (Relationship with the Competitors)
     การประเมินผลการดำเนินงานทางการตลาด (Marketing Evaluation) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลตอบแทนจากการลงทุนทางการตลาด (Marketing Return On Investment) และการตอบวัตถุประสงค์ทางการตบาดอย่างสมบูรณ์ (Complete Marketing Objectives)
  การทบทวนและการควบคุมแผนการดำเนินงานทางการตลาด (Marketing Review and Control) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยการทบทวนแผนการดำเนินงานทางการตลาด (Plan Review) และ การควบคุมแผนการดำเนินงานทางการตลาด (Marketing Control)

Review : บทที่ 10 Strategic Marketing

Review : บทที่ 9 Distribution

# DBA09 # SPU #โดย เอกพล โฉมฉาย

บทที่ 9 Distribution การจัดจำหน่ายหรือกระจายสินค้า

ข้อจำกัด: 

การจัดจำหน่าย (Distribution) หมายถึง กระบวนการในการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ให้ถูกที่และถูกเวลา
Definition: 

One of components of marketing mix that in simplest task transfer the product from the production place to the purchase place to the customer. In other words, the main task of distribution management is placing the goods in hand of potential customers at the right time and place. (Roosta, A. Venus, D. Ebrahim, Abdul., 2009)

The purpose of the distribution channel is to distribute the product from manufacturer to the end user to the right time to the right place (Klein and Frazier, 1990).

การออกแบบช่องทางการกระจายสินค้า โดยมีกระบวนการ ดังนี้
1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของช่องทางการกระจายสินค้า
2. วิเคราะห์องค์กร คู่แข่งขัน และข้อจำกัดของสภาพแวดล้อม
3. วิเคราะห์งานที่จะเกิดขึ้นจากช่องทางการกระจายสินค้า
4. กำหนดความเป็นไปได้ของทางเลือก
5. ประเมินทางเลือก
6. การใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการกำหนดทางเลือก
7. เลือกช่องทางการกระจายสินค้าที่เหมาะสม

ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนด ช่องทางการจัดจำหน่าย มีดังนี้
1. วัฒนธรรม
2. คุณสมบัติของสินค้า
3. วัตถุประสงค์ของบริษัท
4. กลยุทธ์การจำหน่าย
5. คู่แข่ง

:Ekapol Chomchay

Review : บทที่ 8 Sales Force

DBA09 # SPU #โดย พ.ม.วันเฉลิม ประภัสสร

บทที่ 8 Sales Force 
หมายถึงกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อแสวงหาลูกค้า การเสนอขาย ตลอดจนการให้บริการก่อนและหลังการขาย

สรุปจากบทความที่ได้รับมอบหมายจาก อาจารย์วิชิต อู่อ้น ดังนี้


        บริษัทจำเป็นต้องมีพนักงานขายในการเข้าถึงลูกค้าทุกระดับ และพนักงานขายมีหน้าที่หลายอย่างทั้งในการค้นหาลูกค้าใหม่ เพื่อสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทและยังต้องชักชวนลูกค้าให้ซื้อสินค้านั้นให้ได้ด้วย บริษัทจึงจำเป็นต้องจัดให้มีการอบรมและสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานขายให้มีประสิทธิภาพ


โมลเดล โครงสร้างการตัดสินใจของหน่วยขาย

1.กำหนดเป้าหมายสำหรับการตัดสินใจของฝ่ายขาย
2.การกำหนดขนาด:การบังคับขนาดการขาย
3.การจัดสรรความพยายาม : บนผลิตภัณฑ์ เลือกลูกค้า การออกแบบทางภูมิศาสตร์/อาณาเขต และการกำหนดเวลา
4.การจัดและควบคุมความพยายาม : แรงจูงใจ ค่าตอบแทน ข้อเสนอแนะและการควบคุม


จากการรีวิวบทความที่เกี่ยวข้องจึงสรุปได้ว่า การที่จะทำให้มีประสิทธิภาพในการขายของพนักงานขาย ประกอบไปด้วยตัวแปรดังนี้คือ การสื่อสาร ความสามารถ ทักษะ และจริยะธรรม

Review : บทที่ 7 Promotion

#DBA09#SPU ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์



บทที่ 7 Promotion 

PROMOTION
  กิจกรรมทางการตลาดแบบผสมผสานซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้ปลายทาง เพื่อกระตุ้นความสนใจ การทดลองใช้ หรือการซื้อเป็นเครื่องมือจูงใจระยะสั้นสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น คูปอง  พรีเมี่ยม กระตุ้นการตอบสนองตลาด หรือการตอบสนองที่ดีขึ้นทั้งจากผู้บริโภค เพื่อ ผลกำไรในระยะยาวจาก อีกประการหนึ่งคือปรากฏการณ์ระยะสั้นของการเพิ่มสินค้าคงคลัง (สต็อค) ให้กับลูกค้า Philip Kotler(1990),Blattberg and Neslin (1990),Lisa S. Simpson. (2006), DUBEY, J. 2014, Delgado-Ballester, Elena(2005)




ตัวแปลที่ พิจรณาก่อนกระบวนการ ทำ Promotion
Nature of local market
Nature industry mechanisms
Nature retail
Franchise
Partner,Investor
องค์ประกอบของโปรโมชั่น
Adertising
2 PR
3 Personal Selling
Sales Promotion
ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการทำโปรโมชั่น
1 Consumption
Switches Brand
3 loyalty
Larger margins
Increased marketing communications efficiency

Review : บทที่ 6 ADVERTISING

#DBA09#SPU โดย สมภพ จันทร์ฟัก

บทที่ 6 ADVERTISING  จากหนังสือ เรื่อง  Marketing  Model

โดย ฟิลิป คอตเลอร์และคณะ
คำนิยามและความหมายของ ADVERTISING

          โดยสรุปจากการทบทวนวรรณกรรมที่ได้ศึกษาค้นคว้าในกระบวนวิชา SPU 702 ทฤษฏีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธืขั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ ของหลักสูตร DBA    มหาวิทยาลัยศรีปทุม  พบว่า  เอกสารที่ศึกษาทุกเรื่องได้ให้นิยามและความหมายของคำว่า  การโฆษณา  หรือ ADVERTISING  ไว้ตรงกันว่าหมายถึง  กระบวนการสื่อสารที่ต้องการจะให้ผู้บริโภคหรือลูกค้า  เกิดความสนใจในสินค้าและบริการ  โดยเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการนั้นๆ  โดยการใช้สื่อประเภทต่างๆ       เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคให้มากที่สุด  และมีเป้าหมาย  ในการที่จะทำให้ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการ  เกิดผลกำไรในการประกอบธุรกิจ  และผู้บริโภค  ลูกค้า  ผู้ใช้บริการ  เกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการนั้นๆ


            ทั้งนี้ เมื่อได้ศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ การโฆษณาที่พบ จำนวน 5 บทความซึ่งมีการเผยแพร่และตีพิมพ์แล้ว             ในรอบปี ค.ศ. 2010-2017 แล้วพบว่า  มีจำนวน 5 เรื่องที่มีความน่าสนใจ  ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้เป็น รูปแบบจำลองข้างต้น
            โดยรูปแบบดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้โดยสรุปดังนี้
            ในการวางแผนการโฆษณา ต้องคำนึงถึงตัวแปรสำคัญสองตัวคือ  สินค้าหรือบริการ และผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้า         โดยในกลุ่มของสินค้าและบริการจะใช้ช่องทางทางด้านการสื่อสาร ( ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ) ที่ประกอบด้วย  S M C Rในการติดต่อและประเมินผล  ส่วนในกลุ่มของลูกค้าหรือผู้บริโภค  มีองค์ประกอบสำคัญที่จะส่งผลต่อการวางแผนโฆษณาคือ      เครื่องมือที่ใช้ในการรับสาร( ซึ่งในที่นี้ หมายรวมถึงสื่อสาธารณะ  และสื่อบุคคล เช่น โทรศัพท์มือถือ แอบปลิเคชั่นต่างๆ ทั้งline  facebook  twitter  และอื่นๆ )  และพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภค
            สำหรับในการวางแผนโฆษณา           สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการศึกษาคุณลักษณะของสินค้าและบริการ  รวมถึงผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้า ซึ่งตัวแปรทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  และเมื่อศึกษาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้การวิเคราะห์แบบSWOT  เพื่อหาโอกาสและช่องทางในการเผยแพร่  และต้องเป็นช่องทางที่สามารถนำข้อดีของสินค้าและบริการสู่ ผู้บริโภคได้อย่างสะดวก จนได้ข้อสรุปแล้ว  จะนำไปสู่การวางแผนในเรื่องของการใช้สื่อประเภทต่างๆ ตั้งแต่สื่อประเภท Print Media  Electronic Media  และ Social Media เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า  ขณะเดียวกันในการวางแผนโฆษณานี้  จะมีตัวแปรภายนอกที่สามารถควบคุมได้อีก 2 ชนิดคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม  และลักษณะทางกายภาพ ของสถานที่ ลักษณะประชากร เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ผู้วางแผนในการโฆษณาต้องคำนึงถึงประกอบด้วย  อย่างไรก็ตาม  ในยุคปัจจุบัน  เมื่อผู้ทำโฆษณา ได้วางแผนการใช้สื่อ เรียบร้อยแล้ว  อาจใช้กระบวนการด้าน Social Media ในการทดสอบตลาด โดยการปล่อยโฆษณา ผ่านแอปปลิเคชั่นต่างๆ ไปถึงผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้า ได้โดยตรง  ซึ่งจะทำให้ กลุ่มลูกค้า มีปฏิกริยา ( Feedback ) กลับมาถึงนักโฆษณาด้วยความรวดเร็ว  ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักโฆษณาในการที่จะวางแผนกลยุทธ์ให้ถูกต้องและตรงกับความต้องการ ของทั้งกลุ่มผู้ผลิตสินค้าและบริการ  รวมทั้งกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภค
            และการวางแผนการโฆษณาที่ประสบความสำเร็จ  จะต้องทำให้สินค้าหรือบริการนั้นๆมีช่องทางการจำหน่ายในตลาดเพิ่มมากขึ้น  นำมาซึ่งผลกำไรให้กับสินค้าและบริการนั้นๆ  ขณะเดียวกัน  ก็ต้องทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ  เกิดความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการนั้นๆด้วย  ซึ่งจะส่งผลต่อการจดจำ และกลับมาใช้บริการในสินค้าหรือบริการนั้นๆ อย่างต่อเนื่องและยาวนาน  จนเกิดเป็นความภักดี กับสินค้าหรือบริการนั้นๆ

Review : บทที่ 5 Brand Equity

#DBA09#SPU โดย นิตยา  แสงดี

บทที่ 5 Brand Equity Conceptual Framework 

ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ(Advanced Theories of Strategic Marketing Management)
นำเสนอ รศ.ดร.วิชิต อู่อ้น 
DBA. (Management)

DIBA. (International Business)
โดย นายร่มโพธิ์  สุวรรณิก 
นักศึกษาปริญญาเอกด้านการจัดการ DBA09
หลักสูตร บริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Brand Equity Conceptual Framework 
คุณค่าของตราสินค้า (Brand Equity)
มีความหมายจากการทบทวนวรรณกรรมว่า เป็นคำทางการตลาดที่สามารถอธิบายถึงคุณค่าของตราสินค้า คุณค่านั้นจะถูกกำหนดโดยการรับรู้และประสบการณ์ของผู้บริโภคกับที่เชื่อมโยงกับตราสินค้า ถ้าผู้บรโภคทุกคนคิดว่าตราสินค้านั้นเป็นแบรนด์ที่สูงด้วยคุณภาพและบริการหรือมีคุณค่าของตราสินค้าในเชิงบวก  บริษัทฯ สามารถคิดค่าบริการเพิ่มเติมในคุณค่าของตราสินค้านั้นได้


จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง  Brand Equity ที่มีพื้นฐานจาก The Aaker Model ส่วนใหญ่แล้วสามารถนำมาสรุปเป็น Conceptual Framework ดังนี้ 
ปัจจัย  5 ประการที่ส่งผลถึงโดยตรงถึง คุณค่าของตราสินค้ากล่าวคือ

1. สิ่งที่เชื่อมโยงต่อตราสินค้า (Brand Association) อันหมายถึงสิ่งใด ๆก็ตามที่
   ผู้บริโภคได้รับรู้แล้วส่งผลต่อความคิดของผู้บริโภคในทันทีถึงตราของสินค้า เช่น สัญลักษณ์
   กิจกรรม บุคคล
2. ตระหนักรู้ต่อตราสินค้า (Brand Awareness) หมายถึง เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริโภคได้รับรู้
   เช่น การได้ยิน ได้เห็นตราสินค้าแล้ว ผู้บริโภคสามารถจินตนาการได้ทันทีถึงคุณภาพ และ
   บริการที่จะได้รับ
3. ความจงรักภักดีในตราสินค้า (Brand Royalty) หมายถึง ไม่ว่าบริษัทจะนำเสนอ
   ผลิตภัณฑ์อะไรก็ตาม ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อหรือรับบริการนั้น เพราะคาดว่าจะได้รับสินค้าและ
   บริการที่ดี จากตราสินค้านั้น โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับสินค้าที่ถูกนำเสนอโดยสินค้าอื่น
4. คุณภาพที่รับรู้ได้ (Perceived Quality) ผู้บริโภคสามารถรับรู้ถึงคุณภาพได้ทันที
   เมื่อคิดถึงตราของสินค้า
5. สินทรัพย์ของตราสินค้าในกรรมสิทธิ์อื่น (Other Proprietary Brand 
   Assets) เป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมที่แฝงในมูลค่าตราสินค้าและสามารถนำมาแปลงเป็น
   มูลค่าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์  ช่องทางการตลาดอื่นๆ

   โดยปัจจัยทั้ง ประการเป็นตัวแปรต้น และคุณค่าของตราสินค้าเป็นตัวแปรตาม

Review : บทที่ 3 ORGANIZATIONAL BUYING MODELS

#DBA09#SPU โดย อรวิภา มากมิ่ง

บทที่ 3 ORGANIZATIONAL BUYING MODELS 

REVIEW: ORGANIZATIONAL BUYING MODELS รูปแบบพฤติกรรมของผู้ซื้ออุตสาหกรรม
จากการทบทวนวรรณกรรม โดยสรุปผู้วิจัยให้ความหมายของคำว่า รูปแบบการจัดซื้อขององค์กร หมายถึง กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิต การอุตสาหกรรม การให้บริการ การดำเนินงานของกิจการ หรือเพื่อขยายต่อพฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์กร ใน 2 ตลาด คือ ตลาดอุตสาหกรรมหรือตลาดผู้ผลิต และตลาดคนกลางเพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายต่อ

รูปแบบพฤติกรรมการซื้อขององค์การในอุตสาหกรรมของ Sheth model ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
1. จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของบุคคล คือแนวคิดเกี่ยวการคาดหวัง ซึ่งได้กำหนดทัศนคติที่มีต่อผู้จำหน่ายหรือแบรนด์ที่ตอบสนองความพึงพอใจที่เกิดจากสถานการณ์ที่ต้องการซื้อ
2. เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การร่วมตัดสินใจ บอกถึงความแตกต่างระหว่างการตัดสินใจของบุคคล กับการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่ม
3. เมื่อกระบวนการซื้อมาถึงการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งอาจมีความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้น  Sheth แสดงให้เห็นถึงปัจจัยของสถานการณ์ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ต้องเลือกผู้จำหน่ายหรือแบรนด์

Conceptual Framework จากการทบทวนวรรณ พบว่ามีปัจจัยที่ส่งผลต่อ รูปแบบพฤติกรรมของผู้ซื้ออุตสาหกรรม 6 ปัจจัย ดังนี้
                       1. ลักษณะส่วนบุคคล                        2. สิ่งแวดล้อม
                       3. ปัจจัยขององค์กร                           4. ส่วนของกลุ่ม (แต่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ)
                       5. ประเภทสินค้า                               6. ระยะเวลาในการซื้อ

Review : บทที่ 2 Consumer Behavior

#DBA09#SPU โดย วิฑุรย์ ศุภประกฤต

บทที่ 2 Conceptual Framework of Consumer Behavior 

 Consumer behavior ตามผัง อธิบายได้ ดังนี้  เมื่อมีปัญหาและ ความต้องการเกิดขึ้นในผู้บริโภค จะมีปัจจัยจากอิทธิพลภายนอกเข้ามากระทบ ตัวกระตุ้นมีทั้งจากการตลาด และสภาพสังคมวัฒนธรรมแวดล้อม   เมื่อมีการค้นหาทางเลือก ปัจจัยภายในทางจิตวิทยา เช่นการรับรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ เข้ามามีส่วนในค้นหาข้อมูลและการตัดสินใจ
  เมื่อประเมินทางเลือก แล้วก็จะตัดสินใจซื้อ โดยผลจากประสบการณ์การซื้อนั้น ถ้าหากได้รับความพึงพอใจ ก็จะมีส่วนเป็นทางเลือกต้นๆเมื่อเกิดปัญหาและความต้องการอีก ในการค้นหาข้อมูล และ ตัดสินใจซื้อครั้งต่อๆ ไป แต่ถ้าได้รับผลลบก็จะหลุดไปจากขบวนการนี้

Review : บทที่ 1 Marketing Theory

#DBA09#SPU โดย วงศ์วริศ อัครเศรษฐการ

บทที่ 1 Marketing Theory 

Marketing Theory

โดยสรุป หมายถึง ที่ใดก็ตาม ทั้งที่เป็นสถานที่หรือไม่มีสถานที่ ที่มีอุปสงค์และอุปทาน ในสินค้า หรือบริการมาพบกัน จนทำให้เกิดราคาที่มาจากกลไกตลาด โดยเศรษฐกิจในระบบตลาดนี้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น การที่ราคาลดลงโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเสนอขายสินค่าเป็นต้น ทางด้านทฤษฏีนั้น เห็นว่า เศรษฐกิจในระบบตลาดที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้คือ ผู้ผลิตสินค้าที่มีขนาดเล็ก ผู้บริโภคจำนวนมากรวมถึง มาตรการในการกีดกันการเข้าตลาดที่น้อย เงื่อนไขเหล่านี้ถ้ามีครบทั้งหมดจะถือว่าเป็นตลาดที่สมบูรณ์ซึ่งพบได้มากในโลกปัจจุบัน (Kotler, 2003a, p.11) คำตลาด จึงมีความหมายครอบคลุมถึงลูกค้าหลายกลุ่ม รวมทั้งตลาดที่มีตัวตนโดยลักษณะทางกายภาพ และตลาดที่ไม่มีตัวตนในกายภาพ (ตลาด Digital)ตลอดจนตลาดขนาดใหญ่ที่มีหลายๆตลาดย่อยซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่ในธุรกิจนั้นขอบเขตของการตลาด (The Scope of Marketing) การตลาดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ การส่งเสริม และการส่งมอบสินค้า หรือบริการให้กับผู้บริโภคและองค์กรการธุรกิจต่างๆ นักการตลาดมีหน้าที่กระตุ้นความต้องการ ซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทตลอดจนรับผิดชอบต่อ

ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าปัจจัยที่มีผลสรุป มีดังนี้


ตัวแปลต้น 
1สินค้า
2ราคา
3สถานที่
4การส่งเสริมทางการตลาด
5การสื่อสารทางการตลาด
6การขนส่ง

ตัวแปลงตาม
-ความคาดหวังและประสบการณ์
ผลลัพย์ 
-ลูกค้า/ผู้บริโภค

Final BUS702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ บทที่3 การจัดการการตลาด

Final BUS702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ
บทที่3 การจัดการการตลาด
นำเสนอ รศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
โดย นายพริษฐ์ พนมเสริฐ นักศึกษา DBAรุ่น9 ม.ศรีปทุม รหัสนักศึกษา 60560101





ดาวน์โหลดสไลด์นี้

BUS702 VDO Review : แนะนำหนังสือ "คิดอย่างอาเซียน"

แนะนำหนังสือ "คิดอย่างอาเซียน" Phillip Kotler โดยนายพริษฐ์ พนมเสริฐ นักศึกษา DBAรุ่นที่9 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ฺ๊BUS702 VDO Presentation : Pricing โดยนายพริษฐ์ พนมเสริฐ

วิดีโอการนำเสนอเรื่อง Pricing โดยนายพริษฐ์ พนมเสริฐ
วิชา ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฏิบัติ  BUS702
สอนโดย รศ.ดร.วิชิต อู่อ้น


BUS702 สรุปเรื่อง Sheth's Model

นายพริษฐ์  พนมเสริฐ    นักศึกษา DBA  รหัสนักศึกษา 60560101
วิชาทฤษฎีการตลาดขั้นสูง BUS702


กระบวนการซื้อของอุตสาหกรรม (Industrial Buying Process) จะได้รับผลกระทบมาจากปัจจัยต่างๆดังนี้
1ปัจจัยเฉพาะทางผลิตภัณฑ์(Product-specific Factors)
2ปัจจัยเฉพาะทางบริษัท(Company-specific Factors)
3ปัจจัยในความแตกต่างทางความคาดหวังของบุคคลที่เกี่ยวข้อง(Expectation of..)
ซึ่งกระบวนการซื้อของอุตสาหกรรม จะกระทำผ่านการตัดสินใจ 2 รูปแบบ คือ
1.Autonomous Decision คือ การตัดสินใจที่เกิดจากคนหรือกลุ่มเพียงแค่กลุ่มเดียว
2.Joint Decision คือ การตัดสินใจที่เกิดจากกลุ่มที่แตกต่างกันหลายๆกลุ่ม จะเกิดผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การคลี่คลายทางความขัดแย้ง” หรือ “Conflict Resolution” ซึ่งมีระดับ 4 ระดับ คือ การแก้ปัญหา การเจรจา ถ้ายังแก้ไขไม่ได้อาจไปถึงจุดที่เกิด “การต่อรอง” หรือ “การเล่นการเมือง”
ทั้งนี้การตัดสินใจทั้ง 2 แบบ อาจถูกแทรกแซงด้วยปัจจัยทางสถานการณ์ (Situational Factor) ซึ่งอาจจะมาเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้
และคำตอบของการตัดสินใจจะทำให้ได้มาซึ่ง Supplier or Brand Choice หรือ ตัวเลือกของซัพพลายเออร์หรือแบรนด์ หมายถึง บริษัทที่ถูกเลือกเป็นผู้ชนะในการจัดส่ง 
ซึ่งรายละเอียดของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อกระบวนการซื้อของอุตสาหกรรม (Industrial Buying Process) มีดังนี้
1ปัจจัยเฉพาะทางผลิตภัณฑ์(Product-specific Factors) ซึ่งประกอบไปด้วย
-ลักษณะการบีบคั้นทางเวลา (Time Pressure)
-ความเสี่ยงที่องค์กรรับรู้ได้ถ้าหากตัดสินใจในการซื้อผิดพลาด (Perceived Risk)
-ลักษณะของการซื้อ (Type of Purchase) เช่น การซื้อครั้งแรก การซื้อแค่ครั้งเดียวในชีวิต หรือการซื้อบ่อยๆเป็นต้น
2ปัจจัยเฉพาะทางบริษัท(Company-specific Factors) ได้แก่
-ลักษณะการมุ่งเน้นขององค์กร (Organizational Orientation)
-ขนาดขององค์กร (Organization Size)
-ระดับของการกระจายอำนาจขององค์กร (Degree of Centralization)
3.ปัจจัยในความแตกต่างทางความคาดหวังของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งทั้งตัวแทนการจัดซื้อ วิศวกร ผู้ใช้วัตถุดิบ และอื่นๆ ต่างก็มีการตั้งคุณสมบัติในการพิจารณาตัวเลือกผู้จัดส่งวัตถุดิบที่แตกต่างกันไป มีผลมาจาก
1ภูมิหลังของปัจเจกบุคคล(Background of the Individuals) ซึ่งมีรากฐานมากจากการศึกษาที่ต่างกัน หน้าที่ที่มุ่งเน้น และลักษณะการใช้ชีวิต
2การค้นหาข้อมูล (Active Search) จากแหล่งข้อมูล (Information Sources) ที่หลากหลาย เช่น จากตัวแทนขาย จากมหกรรมสินค้า จากจดหมายที่ได้รับ จากสื่อสิ่งพิมพ์ จากโฆษณา จากข่าว จากคำพูดปากต่อปาก เป็นต้น
3ซึ่งการค้นจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการรับรู้(Perception Distortion) หรือการคงไว้ของการรับรู้ (Perception Retention) ก็ได้
4ความพึงพอใจเดิมที่เกิดจากการซื้อครั้งก่อนๆ (Satisfaction with Purchase)

Review : บทที่ 12 Decision Support Model

# DBA09 # SPU พระมหาชินกร รตนาภิวัฒน์ บทที่  11 Conceptual framework of Decision support Model TPS, Transaction Process System ...